- เมื่อครั้งที่ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นโรงเรียน ฝึกหัดครู ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้น เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่23พฤษภาคม พ.ศ. 2503ในฐานะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม รักษา และให้บริการวัสดุ การศึกษาของโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช มีชื่อเรียกเป็น ทางการว่า"ห้องสมุดโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช"
- สถานที่ตั้งอาคารห้องสมุดในระยะเริ่มแรกนั้น ตั้งอยู่ชั้นล่างของ หอพักบุษบา(หรือหอพัก2) ซึ่งเป็นหอพักของนักเรียนหญิง หอพักดังกล่าว ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นที่พัก ของนักเรียนชายเมื่อ พ.ศ. 2509 และเปลี่ยนชื่อ เป็นหอพัก "ไกลนุช" ครั้นถึง พ.ศ. 2515 จึงถูกยุบเป็น อาคารเรียนวิชา ศิลปศึกษา และต่อมาเปลี่ยนเป็น คณะวิทยาการจัดการ)
- อาคารชั้นล่างของหอพักบุษบาที่นำมาใช้เป็นอาคารห้องสมุด ในขณะนั้นมีพื้นที่ 160 ตารางเมตร คือกว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตรเท่านั้น มีหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำนวน 108 เล่มทั้งนี้เป็นหนังสือ ที่โอนมาจากหอสมุดของโรงเรียนฝึกหัดครูตรัง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยุบไปเมื่อ พ.ศ. 2499ด้วยจำนวนหนึ่ง
- ครั้นล่วงถึงปีการศึกษา 2505 ได้รับงบประมาณสำหรับจัดทำ ครุภัณฑ์และซื้อ หนังสือเป็นเงินก้อนใหญ่ห้องสมุดโรงเรียนฝึกหัดครู นครศรีธรรมราชจึงมีครุภัณฑ์ ห้องสมุดเป็นครั้งแรก ครุภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ซึ่งชั้นวางหนังสือใช้สืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน
- ในปีการศึกษา 2507 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคาร เรียนสามชั้น1หลัง (คืออาคาร 6) แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2509 ห้องสมุดจึงได้ย้ายมาเปิดบริการอยู่ที่ ชั้นล่างอาคารหลังนี้ เมื่อต้นป ีการศึกษา 2509 ทำให้ห้องสมุดมีพื้นที่สำหรับใช้บริการได้กว้างขวาง ขึ้นกว่าเดิม
- ในปีการศึกษา2512โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชได้รับ การยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ห้องสมุดจึงมีฐานะเป็น ห้องสมุดวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ตามไปด้วย ผลจากการยกฐานะ ครั้งนี้ ห้องสมุดต้องรับภาระหนักยิ่งขึ้น เพราะต้องให้บริการ นักศึกษา ในระดับ ป.กศ. สูง ซึ่งต้องการบริการจากห้องสมุดมากกว่านักเรียน ระดับ ป.กศ. ถึงเท่าตัว
- ในปลายปีการศึกษา 2516 วิทยาลัยได้รับงบประมาณสร้างอาคาร หอสมุดขึ้นหลังหนึ่งเป็น อาคารแบบสม.2ภายในวงเงินงบประมาณ 1.2 ล้านบาท สร้างเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2517 และได้เปิดใช้บริการเป็น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2517 จึงเรียกชื่ออาคารหลังนี้ว่า หอสมุด วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นแผนกหนึ่งในสังกัดสำนักงานอธิการ
- ปีการศึกษา 2528 หอสมุดได้ยกฐานะเป็นฝ่ายตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช โดยสังกัดสำนักส่งเสริมวิชาการ
- ในปีการศึกษา2533ฝ่ายหอสมุดได้นำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการดำเนินการเกี่ยวกับระบบงานสารนิเทศและระบบฐานข้อมูล ทางบรรณานุกรม ซึ่งจะบันทึกรายการเกี่ยวกับ ทรัพยากรสารนิเทศ ทางวิชาการทุกประเภทของหอสมุด เพื่อเป็นการเตรียมการในการ ให้บริการการศึกษาค้นคว้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หอสมุดยังมี โครงการนำไมโครคอมพิวเตอร์ ในการบริหารและการ ให้บริการจ่ายรับอีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเลือกระบบ ที่สามารถใช้งานเพื่อรองรับความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและสอดคล้อง กับภาวะเศรษฐกิจของชาติ และความเป็นไปได้ของสถาบัน
- อนึ่งในปีการศึกษา2533 หอสมุดได้ขยายงานวัสดุไม่ตีพิมพ์ขึ้น เป็นงานหนึ่งซึ่งในช่วงต้นจะให้บริการทรัพยากรสารนิเทศที่อยู่ในสื่อ ประเภท แถบเสียง(Tape Cassette) แถบภาพ(Video tape) ภาพนิ่ง(Slide) ภาพเลื่อน (Filmstrip) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียม การผลิต จัดหา บรรณาธิการ ทำสำเนา และทำรายการ ซึ่งสามารถให้บริการได้บ้างแล้ว ใน บางส่วน
- เมื่อพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2538 ได้ประกาศ ใช้ สภาประจำสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชจึงให้ความเห็นชอบในการ ยกฐานะฝ่ายหอสมุดขึ้นเป็นสำนักวิทยบริการ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 เป็นต้นมา
- อนึ่ง ในปีงบประมาณ 2538-2540 สถาบันได้รับงบประมาณ ก่อสร้างอาคารวิทยบริการ ขนาด 6 ชั้น 1 หลัง มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,600 ตารางเมตร ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย แล้ว กำลังอยู่ใน ระหว่างการติดตั้งระบบสาธารณูปโภค และระบบสื่อสาร รวมทั้งการ ตกแต่ง ภูมิทัศน์บริเวณรอบอาคาร
- จะเห็นได้ว่า สำนักวิทยบริการ หรือหอสมุดสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้พัฒนามาตามลำดับ ในท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการ ทั้งในด้านบุคลากรระดับวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา จากอดีตถึงปัจจุบัน อาศัยกำลังอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัดทำให้การพัฒนาเป็นไปไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ทำงานอย่างทรหดสืบเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า เป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการ สนองตอบการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ให้สมกับเป็นหน่วยงานของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้พยายามพัฒนาคณะทำงาน ให้ยอมรับการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้การจัดการกับระบบข้อมูลข่าวสาร ทั้งในด้านการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ควบคู่กับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทสิ่งพิมพ์ โดยมุ่งหวังที่จะให้คนรุ่นใ หม่ที่ผ่านเข้ามาในระบบการศึกษาของสถาบัน สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมในยุคของเขา
- ปีการศึกษา 2548 สำนักวิทยบริการสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ยกฐานะขึ้นเป็นศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช