ประวัติ ศูนย์วิทยบริการ

เมื่อครั้งที่ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มีฐานะเป็นโรงเรียน ฝึกหัดครู ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้น เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2503 ในฐานะเป็นศูนย์กลางในการรวบรวม รักษา และให้บริการวัสดุ การศึกษาของโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “ห้องสมุดโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช”

สถานที่ตั้งอาคารห้องสมุดในระยะเริ่มแรกนั้นตั้งอยู่ชั้นล่างของหอพักบุษบา (หรือหอพัก2) ซึ่งเป็นหอพักของนักเรียนหญิง หอพักดังกล่าว ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นที่พัก ของนักเรียนชายเมื่อ พ.ศ.2509 และเปลี่ยนชื่อ เป็นหอพัก “ไกลนุช” ครั้นถึง พ.ศ.2515 จึงถูกยุบเป็น อาคารเรียนวิชา ศิลปศึกษา และต่อมาเปลี่ยนเป็นคณะวิทยาการจัดการ) อาคารชั้นล่างของหอพักบุษบาที่นำมาใช้เป็นอาคารห้องสมุด
ในขณะนั้นมีพื้นที่ 160 ตารางเมตร คือ กว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตรเท่านั้น 

มีหนังสือภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำนวน 108 เล่ม ทั้งนี้เป็นหนังสือ ที่โอนมาจากหอสมุดของโรงเรียนฝึกหัดครูตรัง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยุบไปเมื่อ
พ.ศ. 2499 ด้วยจำนวนหนึ่ง

ครั้นล่วงถึงปีการศึกษา 2505 ได้รับงบประมาณสำหรับจัดทำ ครุภัณฑ์และซื้อ หนังสือเป็นเงินก้อนใหญ่ห้องสมุดโรงเรียนฝึกหัดครู นครศรีธรรมราชจึงมีครุภัณฑ์ ห้องสมุดเป็นครั้งแรก ครุภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ซึ่งชั้นวางหนังสือใช้สืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ในปีการศึกษา 2507 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนสามชั้น 1 หลัง (คือ อาคาร 6) แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2509 ห้องสมุด จึงได้ย้ายมาเปิดบริการอยู่ที่ ชั้นล่างอาคารหลังนี้ เมื่อต้นปีการศึกษา 2509 ทำให้ห้องสมุดมีพื้นที่สำหรับใช้บริการได้กว้างขวาง ขึ้นกว่าเดิม

ในปีการศึกษา 2512 โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชได้รับ การยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ห้องสมุดจึงมีฐานะเป็น ห้องสมุดวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ตามไปด้วย ผลจากการยกฐานะ ครั้งนี้ ห้องสมุดต้องรับภาระหนักยิ่งขึ้น เพราะต้องให้บริการ นักศึกษา ในระดับ ป.กศ. สูง ซึ่งต้องการบริการจากห้องสมุดมากกว่านักเรียน ระดับ ป.กศ. ถึงเท่าตัว

ในปลายปีการศึกษา 2516 วิทยาลัยได้รับงบประมาณสร้างอาคาร หอสมุดขึ้นหลังหนึ่งเป็น อาคารแบบ สม.2 ภายในวงเงินงบประมาณ 1.2 ล้านบาท สร้างเสร็จเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2517 และได้เปิดใช้บริการเป็น ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2517 จึงเรียกชื่ออาคารหลังนี้ว่า หอสมุด วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช มีฐานะเป็นแผนกหนึ่งในสังกัดสำนักงานอธิการ

ปีการศึกษา 2528 หอสมุดได้ยกฐานะเป็นฝ่ายตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช โดยสังกัดสำนักส่งเสริมวิชาการ

ในปีการศึกษา 2533 ฝ่ายหอสมุดได้นำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการดำเนินการเกี่ยวกับระบบงานสารนิเทศและระบบฐานข้อมูล ทางบรรณานุกรม ซึ่งจะบันทึกรายการเกี่ยวกับ ทรัพยากรสารนิเทศ ทางวิชาการทุกประเภทของหอสมุด เพื่อเป็นการเตรียมการในการ ให้บริการการศึกษาค้นคว้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หอสมุดยังมี โครงการนำไมโครคอมพิวเตอร์ ในการบริหารและการ ให้บริการจ่ายรับอีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเลือกระบบ ที่สามารถใช้งานเพื่อรองรับความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและสอดคล้อง กับภาวะเศรษฐกิจของชาติและความเป็นไปได้ของสถาบัน

อนึ่งในปีการศึกษา 2533 หอสมุดได้ขยายงานวัสดุไม่ตีพิมพ์ขึ้น เป็นงานหนึ่งซึ่งในช่วงต้นจะให้บริการทรัพยากรสารนิเทศที่อยู่ในสื่อ ประเภทแถบเสียง (Tape Cassette) แถบภาพ (Video tape) ภาพนิ่ง (Slide) ภาพเลื่อน (Filmstrip) ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียม การผลิต จัดหาบรรณาธิการ ทำสำเนา และทำรายการ ซึ่งสามารถให้บริการได้บ้างแล้ว ใน บางส่วน 

เมื่อพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2538 ได้ประกาศ ใช้สภาประจำสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชจึงให้ความเห็นชอบในการยกฐานะฝ่ายหอสมุดขึ้นเป็นสำนักวิทยบริการ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2538 เป็นต้นมา

อนึ่ง ในปีงบประมาณ 2538-2540 สถาบันได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารวิทยบริการ ขนาด 6 ชั้น 1 หลัง มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,600 ตารางเมตร ซึ่งขณะนี้การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย แล้วกำลังอยู่ใน ระหว่างการติดตั้งระบบสาธารณูปโภค และระบบสื่อสาร รวมทั้งการ ตกแต่ง ภูมิทัศน์บริเวณรอบอาคาร

จะเห็นได้ว่า สำนักวิทยบริการ หรือหอสมุดสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชได้พัฒนามาตามลำดับ ในท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการทั้งในด้านบุคลากรระดับวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาจากอดีตถึงปัจจุบันอาศัยกำลังอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัดทำให้การพัฒนาเป็นไปไม่ก้าวหน้า
เท่าที่ควร

สำนักวิทยบริการ หรือหอสมุดสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้พัฒนามาตามลำดับ ในท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรในการจัดการ ทั้งในด้านบุคลากรระดับวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา จากอดีตถึงปัจจุบัน อาศัยกำลังอาจารย์จากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และงบประมาณที่ค่อนข้างจำกัดทำให้การพัฒนาเป็นไปไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม คณะทำงานที่ทำงานต่อเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ สนองตอบการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ให้สมกับเป็นหน่วยงานของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาคณะทำงานในการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้การจัดการกับระบบข้อมูลข่าวสาร ทั้งในด้านการรวบรวม จัดเก็บ และเผยแพร่ ควบคู่กับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทสิ่งพิมพ์ โดยมุ่งหวังที่จะให้คนรุ่นใหม่ที่ผ่านเข้ามาในระบบการศึกษาของสถาบัน สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

ตามที่ได้มีประกาศในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 และมหาวิทยาลัยทุกแห่ง ดำเนินการจัดตั้งส่วนราชการของมหาวิทยาลัย เป็นไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ มาตรา 6 และมาตรา 11 และได้ประกาศในราชการกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 และเพื่อให้การบางส่วนราชการเป็นไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ มาตรา 11 วรรคสอง  การแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานคณบดี สำนักงานผู้อำนวยการ และกอง ส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่ากองให้ทำประกาศกระทรวงและประกาศในราชกิจจานุเบกษ

          สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเกิดจากการ “การรวมศูนย์บริการ ประสานภารกิจ” เป็นการควบรวมระหว่าง ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์คอมพิวเตอร์และศูนย์ภาษา ซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนวิชาการและสามารถใช้เทคโนโลยีหลายอย่างร่วมกันได้เป็นหนึ่งเดียวกันในนาม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ “ศูนย์กลางความรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อลดการซ้ำซ้อนของงาน ประหยัดงบประมาณ มีความสะดวกคล่องตัว ในการบริหารจัดการซึ่งทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยศูนย์วิทยบริการ เปลี่ยนชื่อเป็น “หอสมุดกลาง” และลดระดับจากหน่วยงานระดับคณะเป็นหน่วยงานระดับกอง

ปีการศึกษา 2550-2554 ปรับปรุงทัศนียภาพภายในและภายนอกรวมถึงการการอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา ผู้ใช้บริการ เช่น การปรับปรุงเคาน์เตอร์งานบริการยืม-คืนมาบริการที่ชั้น 1 เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง สะดวกในการติดต่อประสานงาน ทำรายการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ และอื่น ๆ (จากเดิมที่อยู่ชั้น 2) โดยให้ลิฟท์สามารถให้บริการได้ทุกชั้น ปรับปรุงห้องประชุมกลุ่มย่อยที่ให้บริการการทำงานกลุ่ม ทั้งนักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ บริเวณชั้นที่ 2, 3 และ ชั้น 4 เพิ่มห้องภูมิปัญญา เป็นการรวบรวมทรัพยากรที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิภาคบริการที่ชั้น 4 ห้องวิทยานิพนธ์เป็นจุดรวบรวมงานวิจัย สารนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ภายในมหาวิทยาลัยและได้รับอภินันทนาการจากหน่วยงานภายนอก

          ปีการศึกษา 2555-2558 เพิ่มการบริการทรัพยากรและเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (mini TCDC) บริการคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (Tablet) เพิ่มจุดบริการคอมพิวเตอร์บริเวณชั้น 1 และขยายพื้นที่ห้องศึกษาตามอัธยาศัย (Common Room) เพิ่มที่นั่งและทรัพยากรสารสนเทศประเภท เยาวชน หนังสือภาพ เรื่องสั้น นวนิยาย วรรณกรรมรางวัลซีไรต์ มุมหนังสือใหม่ (New books) หนังสือแนะนำ (Recommend) ให้บริการที่ชั้น 1

          ปีการศึกษา 2559-ปัจจุบันขยายพื้นที่การให้บริการห้องทำงานกลุ่ม (Co-Working Space) สอดรับรูปแบบการให้บริการของห้องสมุดยุคใหม่ ให้บริการที่ชั้น 1 และชั้น 6 เพิ่มมุมทำงาน พักผ่อน ทบทวนบทเรียน และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาในโลกปัจจุบัน เช่น ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Small group meeting room

          ปีการศึกษา 2560-ปัจจุบัน  ก้าวสู่การเป็นห้องสมุดอัจฉริยะ (Smart Library) ส่งเสริมและดำเนินการนำรูปแบบการให้บริการของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (WaLai AutoLib Ultimate)
ที่สอดรับการทำงานและให้บริการที่หลากหลาย
มีความทันสมัยและง่ายต่อการใช้งาน อำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกมากขึ้น นำแพลตฟอร์ม (Platform) การสื่อสารออนไลน์มาช่วยในการติดต่อสื่อสาร ประชาสัมพันธ์องค์กรระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและสมาชิกผู้รับบริการ รวมถึงตระหนักในการอนุรักษ์และหยัดพลังงาน โดยการริเริ่มนำระบบโซ่ล่าเซลล์ (Solar Cell) เป็นเครืองมือประหยัดพลังงาน เตรียมความพร้อมกับการเป็นห้องสมุดสีเขียว (Green Library)

Scroll to Top